วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบเรื่องยมโลกด้วยพระญาณอันบริสุทธิ์
 
    ยมโลกเป็นที่รู้จักกันมากในหมู่คนไทย เพราะมีปรากฏให้เห็นตามผนังโบสถ์ของวัดหลายแห่ง ซึ่งจะมีภาพวาดการทัณฑ์ทรมานสัตว์นรกโดยเหล่าเจ้าหน้าที่ในยมโลก และที่สร้างความสนใจให้กับคนจำนวนมาก คือ การนำเรื่องราวของยมโลกมาทำเป็นละครทีวี เรื่องพิภพมัจจุราช  โครงเรื่องจะเป็นลักษณะ การตัดสินบุญบาปของคนผู้ทำบาปเมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ เรื่องนี้ทำให้คนไทยรู้จักยมโลกกันมากขึ้น แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังมีผู้คนอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่เชื่อว่ายมโลกมีจริง คิดว่าคงเป็นเพียงเรื่องที่แต่งขึ้นเพื่อให้คนกลัวบาป
          
ที่ตั้งยมโลก

ชีวิตหลังความตายในยมโลก

ยมโลกนี้ เป็นที่รู้จักกันมากในหมู่คนไทย เพราะมีปรากฏให้เห็นตามผนังโบสถ์ของวัดหลายแห่ง ซึ่งจะมีภาพวาดการทัณฑ์ทรมานสัตว์นรกโดยเหล่าเจ้าหน้าที่ในยมโลก และที่สร้างความสนใจให้กับคนจำนวนมาก คือ การนำเรื่องราวของยมโลกมาทำเป็นละครทีวี เรื่องพิภพมัจจุราช โครงเรื่องจะเป็นลักษณะ การตัดสินบุญบาปของคนผู้ทำบาปเมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ เรื่องนี้ทำให้คนไทยรู้จักยมโลกกันมากขึ้น แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังมีผู้คนอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่เชื่อว่า ยมโลกมีจริง คิดว่าคงเป็นเพียงเรื่องที่แต่งขึ้นเพื่อให้คนกลัวบาป

บทความ Articles > ตายแล้วไปไหน Life After Death 

อสุภ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนหนึ่งของ
ศาสนาพุทธ

Dhamma Cakra.svg สถานีย่อย

ศาสดา
จุดมุ่งหมาย
นิพพาน
พระรัตนตรัย
ความเชื่อและการปฏิบัติ
ศีล (ศีลห้า) · ธรรม(เบญจธรรม)
สมถะ · วิปัสสนา
บทสวดมนต์และพระคาถา
คัมภีร์และหนังสือ
พระไตรปิฎก
พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก· พระอภิธรรมปิฎก
หลักธรรม
ไตรลักษณ์ · อริยสัจ 4 · มรรค 8· ปฏิจจสมุปบาท · มงคล 38
นิกาย
เถรวาท · มหายาน · วัชรยาน
สังคมศาสนาพุทธ
ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ ·ศาสนสถาน
การจาริกแสวงบุญ
พุทธสังเวชนียสถาน ·
การแสวงบุญในพุทธภูมิ
ดูเพิ่มเติม
อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ
หมวดหมู่ศาสนาพุทธ
อสุภ (อ่านว่า อะสุบ, อะสุบพะ) แปลว่า ไม่งาม ไม่สวย ไม่ดี คือไม่น่าชื่นชม น่าเกลียด น่าระอา ใช้ว่า อสุภะ ก็ได้
อสุภ ในคำวัดใช้หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งท่านกำหนดเป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้กล่าวไว้โดยรวม 10 อย่างคือ
  1. อุทธุมาตกะ ซากศพทีพองขึ้นอืด
  2. วินีลกะ ซากศพที่เขียวคล้ำ
  3. วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม
  4. วิจฉิททกะ ซากศพที่ขาดกลางตัว
  5. วิกขายิตกะ ซากศพที่ถูกสัตว์กัดกิน
  6. วิกขิตตกะ ซากศพที่มีมือ เท้า ศีรษะขาดหายไป
  7. หตวิกขิตตกะ ซากศพที่ถูกบั่นเป็นท่อนๆ
  8. โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารมีเลือดไหลนอง
  9. ปุฬุวกะ ซากศพที่เน่าเฟะคลาคล่ำด้วยตัวหนอน
  10. อัฏฐิกะ ซากศพที่เหลือแต่โครงกระดูก
อสุภ นิยมใช้คู่กับคำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน เช่น อสุภกถา อสุภกรรมฐาน อสุภนิมิต อสุภาวนา อสุภสัญญา
แบบฝึกปฏิบัติที่ 8: การรับประทานอย่างมีสติ
ให้ปฏิบัติแบบฝึกนี้ระหว่างการปฏิบัติกรรมฐานอย่างเข้มข้น การปฏิบัติกรรมฐานช่วยให้เกิดสภาพแวดล้อมพิเศษที่นำไปสู่การปฏิบัติวิปัสสนาได้ตลอดทั้งวัน เพราะการรู้แจ้งสามารถเกิดได้ทุกเวลา แม้ขณะรับประทานหรือแปรงฟัน ระหว่างปฏิบัติกรรมฐานท่านควรทำทุกๆ กิจกรรมอย่างมีสติ ให้ระลึกไว้ว่าต้องหยุดอย่างสนิทหลังจากการเคลื่อนไหวแต่ละครั้ง
  • ถ้าท่านกำลังยกจาน ก็ให้วางจานนั้นไว้บนโต๊ะก่อน พร้อมภาวนาในใจว่า "วางหนอ"
  • หลังจากนั้น ให้ยืนอยู่ข้างๆ เก้าอี้ และภาวนาว่า "ยืนหนอ"
  • ต่อจากนั้น ให้ยื่นมือออกเพื่อปรับเก้าอี้ โดยใส่ใจถึงความรู้สึกสัมผัสนั้น ภาวนาในใจว่า "อยากนั่งหนอ"
  • นั่งลงอย่างช้าๆ ให้มีสติรู้กายเคลื่อนไหว
  • วางมือทีละข้างไว้บนเข่าทั้งสอง
    ตอนนี้ คุณก็พร้อมที่จะรับประทานแล้ว
  • ก่อนรับประทาน ให้มองดูอาหาร ภาวนาในใจว่า "เห็นหนอ"
  • หลังจากนั้น ให้กำหนดจิตที่จะเคลื่อนมือ
  • พลิกมือขึ้น
  • ยกมือขึ้น
  • หยิบส้อมหรือช้อน รู้สึกถึงการสัมผัสนั้น
  • ยกส้อมขึ้นและเคลื่อนไปที่อาหาร
  • ใช้ส้อมจิ้มอาหาร
  • ยกอาหารใส่ปาก
  • ใส่อาหารไว้ในปากแต่อย่าเพิ่งเคี้ยว
  • วางส้อมลง และนำมือกลับไปวางไว้ที่เข่า ท่านยังไม่เริ่มเคี้ยว
  • ตอนนี้ ให้เคี้ยวได้ โดยกำหนดรู้อาการเคลื่อนไหวของกรามหรือลิ้น
  • เมื่อท่านกลืน ให้ภาวนาในใจว่า "กลืนหนอ"
  • ขณะเคี้ยว รสชาติอาหารก็จะปรากฏขึ้น ถ้ารสชาติไม่จัด ก็ให้กำหนดไปที่การเคลื่อนไหวของกราม ถ้ารสชาติจัด ก็ให้กำหนดรู้ที่รสชาตินั้น ขณะเดียวกันให้กำหนดรู้ความอยากที่เกิดขึ้นเพราะอาหาร
  • เมื่อเคี้ยวและกลืนแล้ว ให้รู้ว่าปากว่างเปล่า
  • ให้ตั้งใจที่จะรับประทานคำต่อไป และ เริ่มตามลำดับเดิมอีกครั้งหนึ่ง
แบบฝึกปฏิบัติที่ 7: อิริบถนอน
เวลาทั้งวันที่ผ่านไปด้วยการปฏิบัติกรรมฐานอย่างเข้มข้นนั้น ท่านควรปฏิบัติวิปัสสนาให้ครบทั้งสี่อิริยาบถ รวมถึงอิริยาบถนอนด้วย แต่อย่านอนนานเกินกว่าสิบห้านาที มิเช่นนั้น ท่านอาจจะผลอยหลับได้ ถ้าท่านไม่สบาย ท่านก็สามารถอยู่ในอิริยาบถนอนนานขึ้นได้
นอนตะแคงข้าง วางแขนไว้ใต้ศีรษะ หรือ เหยียดขนานไปด้านหน้าอก แขนส่วนบนวางขนาบร่างกาย ท่านอาจจะใช้หมอนหนุนศีรษะก็ได้
ตอนนี้ ให้สังเกตอิริยาบถนอนในลักษณะเดียวกันกับอิริยาบถยืนที่ท่านเคยสังเกตมาแล้ว ให้ลืมอาการท้องพองท้องยุบ สังเกตอิริยาบถของร่างกายที่เป็นปัจจุบันขณะ ขณะที่ท่านนอนลง ให้ภาวนาในใจว่า "นอนหนอ" "นอนหนอ"
หรือแทนที่จะสังเกตอิริยาบถนอน
แบบฝีกปฏิบัติที่ 5: การเ
ดินจงกลมเบื้องต้น
ให้หาสถานที่ที่ท่านสามารถเดินในเส้นตรงได้อย่างน้อยเจ็ดก้าว
ถ้าเป็นไปได้ให้ถอดรองเท้า
  • เริ่มต้นด้วยการยืน วางมือไว้ด้านหน้า มือข้างหนึ่งกำมืออีกข้างหนึ่งไว้ ตั้งหน้าตรง หรือ มองที่พื้นตรงหน้าท่านออกไปหลายฟุต
  • ลำดับแรก ให้สังเกตอิริยาบถยืน ขณะยืน ให้ภาวนาในใจว่า "ยืนหนอ" "ยืนหนอ"
  • หลังจากนั้นให้ตั้งใจที่จะเดิน
  • ก้าวขวาย่าง ให้เท้าซ้ายเหยียบอยู่ที่พื้น ขณะที่ย่างเท้าขวา-ซ้าย ให้ภาวนาในใจว่า "เหยียบหนอ"
  • เมื่อท่านเหยียบเท้าขวาลงบนพื้นแล้ว ให้ก้าวซ้ายออกไป
  • ให้เดินไปเรื่อยๆ โดยก้าวท้าวไปทีละข้าง
แบบฝึกปฏิบัติที่ 4: มีสติเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ
ผู้เริ่มฝึกใหม่ๆ มักจะหลงลืมสติเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ ในแบบฝึกปฏิบัตินี้ เราจะสาธิตวิธีเปลี่ยนจากอิริยาบถหนึ่งไปเป็นอีกอิริยาบถหนึ่งอย่างมีสติทุกขั้นตอน ให้สังเกตทุกการเคลื่อนไหวย่อยๆของร่างกาย
แต่ลำดับแรก ให้กำหนดจิตด้วยการภาวนาว่า "อยากเคลื่อนหนอ" จากนั้นให้วางมือทั้งสองขนาบท้อง หยุดนิ่งสนิทหลังจากการเคลื่อนไหวแต่ละครั้ง ให้เคลื่อนไหวอวัยวะไปทีละอย่างซึ่งอาจเป็นแขนหรือขาก็ได้
เริ่มยืนขึ้นอย่างช้าๆ โดยแบ่งลำดับการยืนออกเป็นทีละขั้นตอน ทันทีที่ท่านยืนเรียบร้อยแล้ว ให้สังเกตอิริยาบถใหม่สักครู่หนึ่ง สังเกตดูความรู้สึกว่าเป็นอย่างไร
ระหว่างปฏิบัติกรรมฐาน ให้ประยุกต์ใช้วิธีการตามลำดับขั้นตอนเมื่อไหร่ก็ตามที่ท่านเปลี่ยนอิริยาบถ เมื่อทำอย่างนี้สติก็จะไม่ขาดตอน